วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คาร์บอน ฟุตพริ้นท์

คาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คืออะไร



เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทีติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า
ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่
กระบวนการหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสีย ซึ่งจะเป็นการสร้างความ
ตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดปัญหาโลกร้อน
การวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ใช้การประเมินวัฎจักรชีวิต (Life Cycle Assessment : LCA) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการ
ประเมินศักยภาพของการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพบรรยากาศ (Climate Change Potential) ที่เป็นผลมาจาก
การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ รวมทั้งก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ โดยตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์และบริการ
 แสดงผลในเชิงปริมาณ คือ เทียบเท่ากับศักยภาพการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซต์เป็นกิโลกรัม (kg COequivalent)
การแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จะสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภค รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคการผลิตหาแนวทางการ
จัดการเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ให้มากขึ้น เป็นแนวทางพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Society) ที่หลายประเทศกำหนดไว้

การแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์




วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สิ่งมีชีวิต



สิ่งมีชีวิต
 ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตนั้นมีหลายประการ   ในการศึกษาทางด้านชีววิทยามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสามารถแยกให้ได้ว่าสิ่งใดคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งใดคือสิ่งไม่มีชีวิตเสียก่อน จึงสามารถศึกษาในขั้นต่อไปได้อย่างถูกต้อง 


ลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
1. สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างและการทำหน้าที่อย่างเป็นระบบ (organization) 
2. สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลภาพของร่างกาย (homeostasis)  
3. สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัว (adaptation)  
4. สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (reproduction and heredity)
5. สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่าง (growth and development)
6. สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงาน (energy) และสร้างพลังงาน
7. สิ่งมีชีวิตมีการรับรู้ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น (sensitivity)  

เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีจำนวนมาก จึงมีการจัดหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการแยก

ปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการจำแนกชนิดประมาณ 2 ล้านชนิด โดยจำแนกออกเป็นอาณาจักร(Kingdom) ต่าง ๆกันถึง 5 อาณาจักร ซึ่งเป็นระบบที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน
                            โดยการแบ่งตามลำดับชั้นจากกลุ่มใหญ่ที่สุดลงไปถึงชนิดดังนี้
อาณาจักร (Kingdom)
ไฟลัม (Phylum) ของสัตว์ หรือดิวิชัน (Division) ของพืช
ชั้น (Class)
อันดับ (Order)
วงศ์ (Family)
สกุล (Genus)
ชนิด (Species)

การจำแนกอาณาจักรสิ่งมีชีวิต ออกเป็น 5 อาณาจักรดังนี้
  1. อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
  2. อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
  3. อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)
  4. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
  5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)

มอเนอราเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเซลล์เดียวที่ไม่มีนิวเคลียส หรือไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกสิ่งมีชีวิตพวกนี้รวมๆ ว่า โพรแคริโอต (Prokaryote) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน หรือไซอาโนแบคทีเรีย(cyanobacteria)

อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
                เห็ดราเป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต (eukaryote) อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ กินอาหารโดยสร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยออกมาย่อยสารอินทรีย์จนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดเข้าเซลล์ (saprophyte) ได้แก่ เห็ดและราชนิดต่างๆ

อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)
                โพรทิสตาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ชนิดยูแคริโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ได้แก่ สัตว์เซลล์เดียว (protozoa) สาหร่ายต่างๆได้แก่ สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีทอง เช่น ไดอะตอม

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
                พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์เป็นชนิดยูแคริโอต มีสารสีเพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสงเรียกว่าคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีหลายชนิด มีผนังเซลล์เป็นสาร เซลลูโลส สืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ  (alternation of generation) 

อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
                สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของท่อทางเดินอาหาร สมมาตร(symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการพัฒนาของระบบอื่นๆ แบ่งออกเป็นสอง ซับคิงดอม(Subkingdom) คือ ซับคิงดอมพาราซัว (Parazoa) ได้แก่ฟองน้ำและซับคิงดอมเมทาซัว (Metazoa) ได้แก่สัตว์อื่นๆที่เหลือ ซึ่งแบ่งย่อยเป็นไฟลัมต่างๆมากถึง 30 ไฟลัมในปัจจุบัน แต่ที่สำคัญมี 10 ไฟลัม






    
 ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม โดยการลำดับขั้นของการกินแบบต่าง ๆ ตลอดจนการหมุนเวียน ของสารแร่ธาตุและการถ่ายทอดพลังงาน จนทำให้เกิดองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ระบบนิเวศ
ประเภทของระบบนิเวศ 1) ระบบนิเวศพื้นดิน 
  2) ระบบนิเวศน้ำ

บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ในระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.ผู้ผลิต (Producer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ 

2. ผู้บริโภค (Consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องได้รับ
อาหารโดยกินผู้ผลิต
3. ผู้ย่อยสลาย(Decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตและได้พลังงานมาใช้ด้วย
การย่อยสลายอินทรีย์สารแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย 

ความสัมพนธ์
ในระบบนิเวศธรรมชาติสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงระบบ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันนั้นได้โดยผ่านทางกลไก 3 ประการ
 ได้แก่
1. ห่วงโซ่อาหาร คือ การกินกันอย่างเป็นลำดับขั้น 

2. การถ่ายทอดพลังงาน คือ การถ่ายทอดพลังงานจากอาหารการกินกันอย่างเป็นลำดับขั้น
3. วัฏจักรสารอาหารในระบบนิเวศ คือ ผลพวงที่เกิดมาจากการย่อยสลายของกลุ่มผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ