สิ่งมีชีวิต
ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตนั้นมีหลายประการ ในการศึกษาทางด้านชีววิทยามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องสามารถแยกให้ได้ว่าสิ่งใดคือสิ่งมีชีวิตและสิ่งใดคือสิ่งไม่มีชีวิตเสียก่อน จึงสามารถศึกษาในขั้นต่อไปได้อย่างถูกต้อง
ลักษณะที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
1. สิ่งมีชีวิตมีโครงสร้างและการทำหน้าที่อย่างเป็นระบบ (organization)
2. สิ่งมีชีวิตมีการรักษาดุลภาพของร่างกาย (homeostasis)
3. สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัว (adaptation)
4. สิ่งมีชีวิตมีการสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (reproduction and heredity)
5. สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่าง (growth and development)
6. สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงาน (energy) และสร้างพลังงาน
7. สิ่งมีชีวิตมีการรับรู้ต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น (sensitivity)
เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีจำนวนมาก จึงมีการจัดหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการแยก
ปัจจุบันมีสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการจำแนกชนิดประมาณ 2 ล้านชนิด โดยจำแนกออกเป็นอาณาจักร(Kingdom) ต่าง ๆกันถึง 5 อาณาจักร ซึ่งเป็นระบบที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยการแบ่งตามลำดับชั้นจากกลุ่มใหญ่ที่สุดลงไปถึงชนิดดังนี้
อาณาจักร (Kingdom) ไฟลัม (Phylum) ของสัตว์ หรือดิวิชัน (Division) ของพืช ชั้น (Class) อันดับ (Order) วงศ์ (Family) สกุล (Genus) ชนิด (Species)
การจำแนกอาณาจักรสิ่งมีชีวิต ออกเป็น 5 อาณาจักรดังนี้
อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera) อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi) อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista) อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
|
มอเนอราเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเซลล์เดียวที่ไม่มีนิวเคลียส หรือไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกสิ่งมีชีวิตพวกนี้รวมๆ ว่า โพรแคริโอต (Prokaryote) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน หรือไซอาโนแบคทีเรีย(cyanobacteria)
อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
|
เห็ดราเป็นสิ่งชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสหรือมีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเรียกว่า ยูแคริโอต (eukaryote) อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ไม่มีคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ กินอาหารโดยสร้างน้ำย่อยแล้วปล่อยออกมาย่อยสารอินทรีย์จนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดเข้าเซลล์ (saprophyte) ได้แก่ เห็ดและราชนิดต่างๆ
อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protista)
|
โพรทิสตาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ชนิดยูแคริโอต มีทั้งชนิดเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ได้แก่ สัตว์เซลล์เดียว (protozoa) สาหร่ายต่างๆได้แก่ สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีทอง เช่น ไดอะตอม
อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
|
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เซลล์เป็นชนิดยูแคริโอต มีสารสีเพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสงเรียกว่าคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีหลายชนิด มีผนังเซลล์เป็นสาร เซลลูโลส สืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีวัฏจักรชีวิตแบบสลับ (alternation of generation)
อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
|
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของท่อทางเดินอาหาร สมมาตร(symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการพัฒนาของระบบอื่นๆ แบ่งออกเป็นสอง ซับคิงดอม(Subkingdom) คือ ซับคิงดอมพาราซัว (Parazoa) ได้แก่ฟองน้ำและซับคิงดอมเมทาซัว (Metazoa) ได้แก่สัตว์อื่นๆที่เหลือ ซึ่งแบ่งย่อยเป็นไฟลัมต่างๆมากถึง 30 ไฟลัมในปัจจุบัน แต่ที่สำคัญมี 10 ไฟลัม
ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม โดยการลำดับขั้นของการกินแบบต่าง ๆ ตลอดจนการหมุนเวียน ของสารแร่ธาตุและการถ่ายทอดพลังงาน จนทำให้เกิดองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ระบบนิเวศ
ประเภทของระบบนิเวศ 1) ระบบนิเวศพื้นดิน
2) ระบบนิเวศน้ำ
2) ระบบนิเวศน้ำ
บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ในระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.ผู้ผลิต (Producer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้
2. ผู้บริโภค (Consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องได้รับ
อาหารโดยกินผู้ผลิต
3. ผู้ย่อยสลาย(Decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตและได้พลังงานมาใช้ด้วย
การย่อยสลายอินทรีย์สารแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
1.ผู้ผลิต (Producer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้
2. ผู้บริโภค (Consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องได้รับ
อาหารโดยกินผู้ผลิต
3. ผู้ย่อยสลาย(Decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตและได้พลังงานมาใช้ด้วย
การย่อยสลายอินทรีย์สารแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
ความสัมพนธ์
ในระบบนิเวศธรรมชาติสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงระบบ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันนั้นได้โดยผ่านทางกลไก 3 ประการ ได้แก่
1. ห่วงโซ่อาหาร คือ การกินกันอย่างเป็นลำดับขั้น
2. การถ่ายทอดพลังงาน คือ การถ่ายทอดพลังงานจากอาหารการกินกันอย่างเป็นลำดับขั้น
3. วัฏจักรสารอาหารในระบบนิเวศ คือ ผลพวงที่เกิดมาจากการย่อยสลายของกลุ่มผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ
ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันนั้นได้โดยผ่านทางกลไก 3 ประการ ได้แก่
1. ห่วงโซ่อาหาร คือ การกินกันอย่างเป็นลำดับขั้น
2. การถ่ายทอดพลังงาน คือ การถ่ายทอดพลังงานจากอาหารการกินกันอย่างเป็นลำดับขั้น
3. วัฏจักรสารอาหารในระบบนิเวศ คือ ผลพวงที่เกิดมาจากการย่อยสลายของกลุ่มผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น