วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การตีเด็กได้ผลจริงหรือ ในการพัฒนาเด็ก

การตีเด็กได้ผลจริงหรือ ในการพัฒนาเด็ก
โดย อภิญญา   ปัญญาพร
รพ.จิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
หากพูดถึง การลงโทษเด็ก มีหลากหลายวิธี แต่ที่เรามัก สงสัย พูด วิจารณ์กันบ่อย   คือ  การตี ” การลงโทษเด็กด้วยการตีจะดี จะช่วยพัฒนาเด็กได้หรือไม่นั้น คงเป็นคำถามที่ต้องตอบ มาติดตามกันต่อนะคะ
ข่าวการลงโทษเด็กโดยการเฆี่ยนตีออกมาให้เราทราบบ่อยครั้งทำให้มีมุมมองเกิดขึ้นหลายมุมมอง เช่น จากตัวเด็กเอง จากพ่อแม่ จากครู ต่างคนก็ต่างความคิดและต่างประสบการณ์ แต่ที่สำคัญที่สุด ต้องฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย ดังนี้ค่ะ
            ผู้เขียนขอเสนอผลวิเคราะห์ของจิตแพทย์ได้สรุปไว้ว่า
:การตีก้น แม้เพียงเบา ๆ อาจเป็นเหตุให้ลูกรักล้มป่วย หรือมีผลกระทบถึงสมองได้ (อายุ 0-2 ขวบ)
    :การตีลูกไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นเลย เมื่อตอนถูกตีเด็กจะดูเรียบร้อยคุณจะรู้ไหมว่านั่นเป็นการทำลายจิตใจเด็ก และเด็กจะยอมแพ้ในช่วงเวลาที่ถูกตีเท่านั้นเอง
            : การตีเป็นแผงกั้นความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ ลูก ลูกจะน้อยเนื้อต่ำใจว่า พ่อ แม่ ไม่รัก ผลที่เกิดขึ้นคือ เด็กจะรู้สึกขาดความอบอุ่น และกลายเป็นเด็กมีปัญหา
            : พ่อ แม่ ที่เคยถูกตี จะตีลูก และเป็นวัฐจักรไม่มีที่สิ้นสุด
            : ความรู้สึกของเด็กเมื่อถูกตีคือ เจ็บกาย และเจ็บใจ
            การตีเด็กมีทั้งได้ผล และไม่ได้ผล
            ได้ผล : คือ หยุดพฤติกรรมได้รวดเร็ว ทันใจ แต่เป็นระยะสั้น ๆ ในระยะยาวเด็กจะเป็นคนขี้ขลาด หวาดกลัว ไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำอะไร สมยอมไม่มีความคิดสร้างสรรค์ มักพบความสำเร็จในชีวิตราชการ
            ไม่ได้ผล : คือ ตีแล้วไม่เข็ดหลาบ จึงต้องตีกันอยู่เป็นประจำ เด็กจะเจ็บใจ โกรธ เด็กจะแสดงออกโดยการดื้อเงียบ ด่านินทาลับหลัง ชอบตั้งฉายา มีความสุขในการนินทา พ่อ แม่ ครู แต่ต่อหน้าจะเคารพสุภาพ ถ้าถูกติมากจะเปลี่ยนเป็นเกลียด ท้ายที่สุดจะกลายเป็นความแค้น เด็กจะแก้แค้น พ่อ แม่ ครู ทำลายสิ่งของที่รุนแรงที่สุด จะกลายเป็นการทำลาย จะเป็นอันตรายมาก
            พบรูปแบบการทำลาย 2 อย่างคือ
            ทำลายตนเอง : ประชดชีวิตทุกรูปแบบ ติดยา การพนัน สำส่อนทางเพศ คิดมาก โรคจิต ประสาท ถ้ารุนแรงจะฆ่าตัวตาย
            ทำลายผู้อื่น : ทำผิดกฎ เกเร มาสาย หนีงาน อู้งาน คอรัปชั่น เป็นโจร ฯลฯ
            จะเห็นได้ว่าผลดีตามหลักสุขภาพจิตนั้น พบได้น้อยกว่าผลเสีย
            ตามหลักสุขภาพจิตให้ใช้ทุกวิธีในการพัฒนาเด็ก ถ้าฝึกด้วยความรัก ไม่ว่าจะตี จะลงโทษเมื่อตื่นสาย เพียงแต่ต้องนึกอยู่เสมอว่า วิธีดังกล่าวสามารถพัฒนาเด็กได้ เช่นการตี ถ้าเห็นว่าตีเพื่อการพัฒนา ก็ทำด้วยความรัก เช่นเด็กให้ลงโทษ 3 ที ตีเด็กไป 1 ที และใช้เหตุและผลในการพูดคุย ก็จะช่วยให้การลงโทษตีเด็กเป็นการพัฒนาเด็กได้เช่นกัน

   เอกสารอ้างอิง ;   ณรงค์ศักดิ์   ตะละภัฏและคณะ. การพัฒนาคุณภาพชีวิต.กรุงเทพฯ:พรศิวการพิมพ์,2535

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น